top of page

4.1 คุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ


ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาคือความประพฤติ และธรรม คือเครื่องรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตามผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึกถึงผลกระทบต่อสังคมภายนอกเสมอ ทั้งนี้ก็คือจะต้องไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติฉะนั้นจริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีดังนี้

1. ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

2. ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำนึกในหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานของตน

3. ช่วยส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี

4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนี้ต้องยึดหลักโดยคำนึกถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ

5. ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น อาชีพ (Occupation) ดำรง ฐานดพี (2536 : 2) ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทุกประเภทและเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นคำว่าอาชีพจึงครอบคลุมไปถึงงานที่ใคร ๆ ก็ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดมาก่อน เช่น งานที่ต้องใช้แรงงาน (Manual works) และเป็นงานที่ผู้กระทำจะต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษหรือเป็นงานที่ใช้ทักษะและการฝึกหัดขั้นสูง (Technic worls)”

อาชีพมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมเป็นอย่างมาก ในทัศนะของนักสังคมวิทยานั้น อาชีพอาจก่อให้เกิดผลต่อสังคมได้ ดังนี้

1. อาชีพสามารถแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคมออกเป็นส่วน ๆ ตามสาขาอาชีพ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร ผู้ประกอบธุรกิจการบริการ ข้าราชการ เป็นต้น ในกลุ่มอาชีพดังกล่าวสามารถแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น ข้าราชการก็มีทั้งข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรก็มีทั้งชาวนา ชาวสวน ชาวประมง เป็นต้น

2. อาชีพแต่ละอาชีพนั้นก่อให้เกิดเป็นแหล่งรวมผู้คนจากถิ่นต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ และความสนใจไปในแนวเดียวกัน

3. อาชีพมีผลต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล

4. อาชีพมีส่วนเชื่อมโยงบุคคลรวมกันเป็นสังคม

5. อาชีพก่อให้เกิดความสามารถและความชำนาญแก่ผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ วิธีการสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ วิธีการสร้างจริยธรรมต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลัก ปัจจุบันนี้โลกเรากำลังมีปัญหาด้านศีลธรรม ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม ในหลาย ๆ อาชีพ ฉะนั้นจะต้องมีการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และสร้างเสริมเติมต่อสิ่งที่ยังขาดอยู่ให้มีขึ้น

วิธีการที่นำมาใช้สร้างจริยธรรมสามารถทำได้ ดังนี้

1. การอบรมตามหลักของศาสนา

2. การปลูกฝังพฤติกรรมที่พึงประสงค์

3. การสอนให้รู้จักความเมตตาต่อผู้อื่น

4. การสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์

5. การใช้อิทธิพลของกลุ่มให้เกิดความคล้อยตาม

6. การใช้หลักมนุษยสัมพันธ์

7. การจัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ในทางที่ดี จริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพควรประพฤติ

หลักในการยึดถือปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพทั่วไปพึงกระทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตน และร่วมรับผิดชอบในสังคม ควรมีดังนี้

1. ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

2. การมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม

3. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในบริการ

4. การมีจรรยาอาชีพและดำเนินกิจการอย่างมีคุณภาพ

5. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อลูกค้า

6. การเคารพสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของผู้อื่น

7. การใช้จริยธรรมในการติดต่อสื่อสาร

8. การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน

9. การสร้างวินัยในการประกอบอาชีพ

10. การดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

11. การให้แหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง

12. การประกอบอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page